Print this page

ศูนย์ข้อมูลสำหรับ นักท่องเที่ยว เทศบาลตำบลคำน้ำแซบ

วันศุกร์, 23 มิถุนายน 2566 09:42

ศูนย์ข้อมูลสำหรับ นักท่องเที่ยว เทศบาลตำบลคำน้ำแซบ

แผนส่งเสริมการท่องเที่ยว เป็นกระบวนการเรียนรู้และการ มีส่วนร่วมของประชาชนในหมู่บ้านและชุมชน โดยเริ่มจากการกระตุ้นจิตสำนึกและความรับผิดชอบของ ประชาชนในชุมชนให้มีจิตสาธารณะ แล้วร่วมกันคิด ร่วมกันจัดหา ร่วมกันเรียนรู้ /วิเคราะห์ เพื่อให้รู้และ เข้าใจตนเองโดยใช้กระบวนการชุมชนคือ การสำรวจข้อมูลปัญหาและศักยภาพของชุมชน การวิเคราะห์ สาเหตุ/แนวทางแก้ไข แล้วก าหนดอนาคตและทิศทางการพัฒนาตนเอง /หมู่บ้านและชุมชนในลักษณะจาก ชุมชน โดยชุมชน และเพื่อชุมชนซึ่งเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็ง และพึ่งตน เองอย่างยั่งยืนของชุมชน แผนชุมชนการท่องเที่ยวองค์การบริหารส่วนตำบลห้วย ไร่ โดยการรวบรวมข้อมูลของชุม ชนด้านต่างๆ ใน การจัดทำข้อมูลทางด้านวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว ตลอดจนเป็นบทเรียนในการพัฒนาหมู่บ้านโดย ภาพรวม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและให้การสนับสนุนของส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม เทศบาลตำบลคำน้ำแซบ จึงจัดทำแบบรายงานการจัดทำแผน ส่งเสริมการท่องเที่ยว ขึ้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการรายงานผลการดำเนินงานการจัดทำแผน ส่งเสริมการ ท่องเที่ยว เพื่อเป็น ประโยชน์ต่อหน่วยงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อไป   

 

  

 คลิ้ก  http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/esaninfo/?p=595

 บ้านคำปุน ตั้งอยู่ในอำเภอวารินชำราบ แหล่งผลิตถักทอผ้าไหมชั้นดีและมีชื่อเสียงของจังหวัดอุบลราชธานีที่สืบสานภูมิปัญญาดั้งเดิมของท้องถิ่นและเป็นที่อยู่อาศัยของครอบครัว ภายในบริเวณบ้านคำปุนเป็นอาคารงานสถาปัตยกรรมแบบไทยอีสาน นอกจากนั้นแล้ว บ้านคำปุนยังเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้กระบวนการถักทอของไทยที่องค์ความรู้ถูกสั่งสมมาเป็นเวลายาวนาน โดยมีผู้ให้ความรู้แก่ช่างทอในปัจจุบัน คือ นางคำปุน ศรีใส (ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขาทัศนศิลป์-ถักทอ พ.ศ.2537) และบุตร คือ นายมีชัย แต้สุจริยา (ศิลปินดีเด่นจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ.2544 และผู้คิดค้นและออกแบบผ้าลายกาบบัว ผ้าเอกลักษณ์จังหวัดอุบลราชธานี) https://www.2020.kamnamsab.go.th/our-local/travel/item/1120-2020-07-08-04-23-41

 

 

 คลิ้ก  https://kamnamsab.go.th/info-service/travel

บ้านช่างหม้อ ไปเรียนรู้วิธีปั้นหม้อแบบโบราณ โดยการปั้นมือ นวดดินด้วนมือ ขึ้นรูปด้วยมือ ไม่ใช้เครื่องจักรกันค่ะ บ้านช่างปั้นหม้อ ตั้งอยู่ที่ บ้านท่าข้องเหล็ก อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำมูล ดินบริเวณนั้นมีความอุดมสมบูรณ์ แหมาะการปั้นหม้อ ระยะแรกที่ทำกันที่บ้านช่างหม้อ (เดิมเป็นบ้านท่าข้องเหล็ก แยกเป็นบ้านช่างหม้อ) โดยมีช่างโคราชนำเทคโนโลยีการปั้นหม้อมาเผยแพร่ เมื่อก่อนทำกันทุกครัวเรือนภายหลังดินขาดแคลน จึงเปลี่ยนเป็นปั้นเตาอังโล่ กระถางแจกัน แต่ชาวบ้านก็ยังนิยมปั้นหม้อแบบโบราณซึ่งสืบมาแต่บิดามารดา เพราะไม่ชำนาญรูปแบบใหม่และตลาดยังนิยมซื้อไว้ใส่น้ำดื่ม เนื่องจากราคาย่อมเยา

 

 

แผนส่งเสริมการท่องเที่ยวเทศบาลตำบลคำน้ำแซบ

 

อำเภอวารินชำราบ  จังหวัดอุบลราชธานี

 

 

Media