ข้อมูลทั่วไป
สภาพทั่วไป
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
-----------------------------
1. ด้านกายภาพ
1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือตำบล
เทศบาลตำบลคำน้ำแซบ ตั้งอยู่เลขที่ 9 หมู่ที่ 9 ถนนวารินชำราบ - ศรีสะเกษ ตำบล
คำน้ำแซบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 34190 โทรศัพท์/โทรสาร 045-424161 ห่างจากอำเภอวารินชำราบประมาณ 4 กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัดอุบลราชธานีประมาณ 15 กิโลเมตร
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
เทศบาลตำบลคำน้ำแซบ มีพื้นที่ทั้งหมด 7,507 ไร่ หรือ 12.01 ตารางกิโลเมตร
พื้นที่ราบ 6,857 ไร่ หรือ 10.97 ตารางกิโลเมตร
พื้นน้ำ 650 ไร่ หรือ 1.04 ตารางกิโลเมตร
มีแม่น้ำมูลไหลผ่านจากด้านทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก มีคลองคำนางรวย (ครอบคลุมพื้นที่หมู่ 3,7,10,6,8) คลองคำแสนกวาง (ครอบคลุมพื้นที่หมู่ 4,9) และคลองคำหาด (ครอบคลุมพื้นที่หมู่ 6) พื้นที่จึงเหมาะแก่การปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัย และทำเกษตรกรรม
มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลแจระแม และตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี
ทิศใต้ ติดต่อกับ เทศบาลตำบลแสนสุข และตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เทศบาลเมืองวารินชำราบ และเทศบาลตำบลแสนสุข
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลบุ่งหวาย และตำบลหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ
สภาพภูมิศาสตร์เป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท และสภาพภูมิศาสตร์บางพื้นที่ติดแม่น้ำมูลเหมาะ
แก่การทำเกษตรกรรม เช่น การทำนา การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ประมง
ลักษณะภูมิประเทศ ตั้งอยู่บนที่ราบสูงในบริเวณที่เรียกว่า “แอ่งโคราช” สูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ย
ประมาณ 68 กิโลเมตร (227 ฟุต) อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ห่างจากกรุงเทพมหานคร ทางรถไฟประมาณ 574 กิโลเมตร ทางรถยนต์ประมาณ 670 กิโลเมตร
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
ฤดูร้อน เดือนกุมภาพันธ์ – เดือนเมษายน อุณหภูมิเฉลี่ย 32 องศาเซลเซียส
ฤดูฝน เดือนพฤษภาคม – เดือนกันยายน อุณหภูมิเฉลี่ย 25 องศาเซลเซียส
ฤดูหนาว เดือนตุลาคม – เดือนมกราคม อุณหภูมิเฉลี่ย 24 องศาเซลเซียส
-2-
2. ด้านการเมือง/การปกครอง
2.1 เขตการปกครอง
เทศบาลตำบลคำน้ำแซบมีทั้งสิ้น 10 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ 1 บ้านท่าข้องเหล็ก
หมู่ที่ 2 บ้านโพธิ์มูล
หมู่ที่ 3 บ้านคำนางรวย
หมู่ที่ 4 บ้านเพียเภ้า
หมู่ที่ 5 บ้านช่างหม้อ
หมู่ที่ 6 บ้านนิมิตรใหม่พัฒนา
หมู่ที่ 7 บ้านคำนางรวย
หมู่ที่ 8 บ้านท่าข้องเหล็ก
หมู่ที่ 9 บ้านท่าข้องเหล็ก
หมู่ที่ 10 บ้านคำนางรวย
2.2 การเลือกตั้ง
สมาชิกสภาเทศบาลตำบลคำน้ำแซบ จำนวน 12 คน แบ่งเป็น 2 เขตเลือกตั้ง
- เขตเลือกตั้งที่ 1 ประกอบด้วย หมู่ 1 , 2 , 4 , 9 (สมาชิกสภาเทศบาล 6 คน)
- เขตเลือกตั้งที่ 2 ประกอบด้วย หมู่ 3 ,5 ,6 ,7 , 8 ,10 (สมาชิกสภาเทศบาล 6 คน)
- องค์การบริหารส่วนตำบลคำน้ำแซบ ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลคำน้ำแซบ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2552
- เทศบาลตำบลคำน้ำแซบ ปรับขนาดจากเทศบาลขนาดเล็กเป็นเทศบาลขนาดกลาง ตามมติเห็นชอบของที่ประชุมคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดอุบลราชธานี ครั้งที่ 1/2556 วันที่ 31 มกราคม 2556 จึงประกาศปรับขนาดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2556
อำนาจหน้าที่
การพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลคำน้ำแซบ นั้น เป็นการสร้างกระบวนการมีส่วนของชุมชนในการร่วมคิดร่วมแก้ไขปัญหา ตลอดจนร่วมสร้างร่วมส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ในเขตพื้นที่ของเทศบาลตำบลคำน้ำแซบ ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นในทุกด้าน การพัฒนาจะสมบูรณ์ได้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชน ในพื้นที่เกิดความตระหนักร่วมกันแก้ไขปัญหาและความเข้าใจในแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง เทศบาลตำบลคำน้ำแซบ ยังได้เน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา นอกจากนั้นยังได้เน้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้การศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน และพัฒนาเยาวชนให้พร้อมที่จะเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ โดยยึดกรอบแนวทางในการจัดระเบียบการศึกษา ส่วนด้านพัฒนาอาชีพนั้น จะเน้นพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในท้องถิ่น
เทศบาลตำบลคำน้ำแซบ กำหนดวิธีการดำเนินการตามภารกิจสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น ทั้งนี้สามารถวิเคราะห์ภารกิจให้ตรงกับสภาพปัญหา โดยอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 ( และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับปัจจุบัน ) และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ดังนี้
อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 50 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายเทศบาล มีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
- รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
- ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
- รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฎิกูล
- ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
- ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
- ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
- ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
- บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
- หน้าที่อื่นตามกฎหมายที่บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 51 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายเทศบาล เทศบาลตำบลอาจจัดกิจกรรมใดๆ ในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
- ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
- ให้มีโรงฆ่าสัตว์
- ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
- ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
- บํารุงและส่งเสริมการทํามาหากินของราษฎร
- ให้มีและบํารุงสถานที่ทําการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
- ให้มีและบํารุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
- ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
- เทศพาณิชย์
หน้าที่ตามพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 ให้เทศบาลเมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตําบลมีอํานาจ และหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้
- การจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
- การจัดให้มีและบํารุงรักษาทางบก ทางน้ําและทางระบายน้ํา.
- การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
- การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่น ๆ
- การสาธารณูปการ
- การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ
- การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
- การส่งเสริมการท่องเที่ยว
- การจัดการศึกษา
- การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
- การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
- การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
- การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
- การส่งเสริมกีฬา
- การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
- การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
- การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
- การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
- การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
- การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
- การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
- การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพและสาธารณสถานอื่น ๆ
- การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- การผังเมือง
- การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
- การดูแลรักษาที่สาธารณะ
- การควบคุมอาคาร
- การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
ประวัติความเป็นมา
ตำบลคำน้ำแซบ สมัยก่อนเป็นพื้นที่ที่มีแม่น้ำ ลำธาร ป่าไม้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์นานา ชนิด มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานราวปี พ.ศ. 2440-2450 พ่อใหญ่สิงห์ ทาเงิน พร้อมพรรคพวกได้อพยพมาอยู่ริมแม่น้ำมูล เพราะเห็นว่าเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ และตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านท่าข้องเหล็ก” เหตุที่ชื่อว่าบ้านท่าข้องเหล็กเนื่องจากว่าชาวบ้านที่มาหาปลาบริเวณนั้น อวน แห สำหรับหาปลามักติดกับเหล็กที่อยู่ใต้น้ำบ่อยๆ จึงได้ชื่อว่าบ้านท่าข้องเหล็ก (คำว่า “ข้อง” ภาษาอีสานแปลว่า “ติด”) ต่อมาประชาชนที่เป็นช่างฝีมือในการปั้นหม้อ ปั้นไห เครื่องปั้นดินเผา ย้ายถิ่นมาจากโคราชเห็นว่าบริเวณ แม่น้ำมูลมีดินเหนียวมากพอจะทำเครื่องปั้นต่างๆ ได้จึงมาตั้งถิ่นฐานบริเวณนี้ และในเวลาต่อมาจึงได้ชื่อว่า “บ้านช่างหม้อ” เวลานั้นตำบลคำน้ำแซบยังเป็นตำบลธาตุอยู่ ต่อมาปี พ.ศ. 2507 จึงแยกออกจากตำบลธาตุโดยมีนายพยอม ละมูนวงศ์ เป็นกำนันตำบลคำน้ำแซบคนแรก โดยได้นำเอาชื่อชุมชนคำน้ำแซบ ซึ่งเป็นพื้นที่ติดต่อกันอยู่ในอำเภอวารินชำราบประกอบกับเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีน้ำใช้อุปโภค บริโภคอย่างเพียงพอ จึงได้ชื่อว่า “ตำบลคำน้ำแซบ” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และตามชื่อ “คำน้ำแซบ” คือ “น้ำคำ” แปลว่า น้ำที่ซึมซับจากผิวดิน “แซบ” คือ อร่อย หมายถึง แหล่งน้ำที่มีน้ำซึมออกมามีรสชาติอร่อย เมื่อขุดเจาะลงไปจะพบตาน้ำที่ตื้นมาก จึงทำให้ตำบลนี้ไม่ขาดน้ำ ชาวบ้านจึงนิยมขุดบ่อน้ำตื้นไว้เพื่ออุปโภคบริโภค โดยมีนายบุญโฮม สายสอน เป็นกำนันคนที่สอง , นายสมชาย วิถี เป็นกำนันคนที่สามและกำนันคนปัจจุบันชื่อนายสมร ส่งเสริม (องค์การบริหารส่วนตำบลคำน้ำแซบ จัดตั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 16 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2539
วิสัยทัศน์-พันธกิจ
วิสัยทัศน์
" ตำบลน่าอยู่ เศรษฐกิจเข้มแข็ง สิ่งแวดล้อมดี คนมีคุณภาพ และการบริหารจัดการดี"