หน้าหลัก ประจำปี 2567 ประจำปี 2567 ความพึงพอใจ
Hot News :

รำวงมหาดไทยเพื่อคนไทย โรงเรียนเทศบาลบ้านคำนางรวย เทศบาลตำบลคำน้ำแซบ

สำรวจพื้นที่น้ำท่วม..บ้านช่างหม้อ ต.คำน้ำแซบ อ.วารินชำราบ

"แหล่งเรียนรู้วิถีริมมูล" | Ep.8 สภาเด็กและเยาวชนตำบลคำน้ำแซบ

คิดจะรัก (มันส์)ต้องรู้ DJ Teen อุบลราชธานี

จิตอาสาพัฒนาร่วมบุญ 2/63 sec21 กลุ่ม3 ณ วัดบ้านโพธิ์มูล ต.คำน้ำแซบ

  1. แผน/รายงาน
  2. ประกาศ/คำสั่ง
  3. มาตรการ/หลักเกณฑ์/สถิติ
  1. จัดซื้อจัดจ้าง eGP
  2. ราคากลาง eGP
  3. แผน/รายงาน

จดหมายข่าว

FAQ คำถามที่พบบ่อย

ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์ เป็นบุคคลธรรมดาคนเดียว หรือหลายคน (ห้างหุ้นส่วนสามัญ) หรือนิติบุคคลรวมทั้งนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศ ซึ่งประกอบกิจการอันเป็นพาณิชยกิจตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด

เอกสารที่ใช้ขอรับบริการกรณีขอจดทะเบียนพาณิชย์ (รายใหม่)

  1. สำเนาบัตรประชาชน (ผู้จด) จำนวน 1 ฉบับ
  2. สำเนาทะเบียนบ้านหรือสถานที่ตั้งร้านค้าพาณิชย์ จำนวน 1 ฉบับ
  3. สำเนาสัญญาเช่า/หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ จำนวน 1 ฉบับ
  4. หนังสือมอบอำนาจ(ถ้ามี)พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ จำนวน 1 ชุด
  5. แผนที่ตั้งร้าน จำนวน 1 ฉบับ

เอกสารที่ใช้ขอรับบริการกรณีขอเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนพาณิชย์

  1. ใบทะเบียนพาณิชย์ตัวจริง จำนวน 1 ฉบับ
  2. สำเนาบัตรประชาชน จำนวน 1 ฉบับ
  3. หนังสือมอบอำนาจ(ถ้ามี)พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ จำนวน 1 ชุด
  4. เป็นลายลักษณ์อักษร

เอกสารที่ใช้ขอรับบริการกรณีขอเลิกประกอบพาณิชย์

  1. ใบทะเบียนพาณิชย์ตัวจริง จำนวน 1 ฉบับ
  2. สำเนาบัตรประชาชน จำนวน 1 ฉบับ
  3. หนังสือมอบอำนาจ(ถ้ามี)พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ จำนวน 1 ชุด
  4. เป็นลายลักษณ์อักษร

อัตราค่าธรรมเนียม

  1. จดทะเบียนพาณิชย์ใหม่ ทพ.0403 50 บาท
  2. เปลี่ยนแปลงทะเบียนพาณิชย์รายการละ 20 บาท
  3. เลิกประกอบพาณิชย์ 20 บาท
  4. ขอคัดสำเนา 30 บาท
  5. ขอใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ 20 บาท
  6. เป็นลายลักษณ์อักษร

ติดต่อยื่นแบบชำระภาษีได้ที่ ฝ่ายจัดเก็บรายได้ กองคลัง เทศบาลเมืองยโสธร อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร 35000 โทรศัพท์ 045-711397 ต่อ 310 โทรสาร 045-711397 ในวันและเวลาราชการ ดังนี้

  1. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกำหนด ให้ยื่นแบบเสียภาษี ตั้งแต่เดือน มกราคม – 28-29 กุมภาพันธ์ และมีกำหนดชำระ ตั้งแต่เดือน มกราคม - 30 เมษายน ของทุกปี
  2. ภาษีบำรุงท้องที่ กำหนดให้ยื่นแบบเสียภาษี ตั้งแต่เดือน มกราคม– 30 เมษายน ของทุกปี
    **ในกรณีบุคคลที่ เป็นเจ้าของที่ดินใหม่ หรือจำนวนที่ดินเดิมมีการเปลี่ยนแปลง โดยการโอนขาย เพิ่มลด หรือมีเหตุที่ทำให้ที่ดินเปลี่ยนแปลงไป ให้เจ้าของที่ดินยื่นแบบแสดงรายการที่ดินใหม่ ภายใน 30 วัน
  3. ภาษีป้าย กำหนดให้ยื่นแบบเสียภาษี ตั้งแต่เดือน มกราคม – 31 มีนาคม ของทุกปี

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่

ผู้มีคุณสมบัติคนพิการครบถ้วนแล้ว และมีความประสงค์จะรับเบี้ยยังชีพความพิการ สามารถยื่นเอกสารหลักฐาน ในการขึ้นทะเบียนรับเบี้ยยังชีพความพิการ ในวันและเวลาราชการ ดังนี้

  1. สำเนาบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ จำนวน 1 ชุด
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด
  3. สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร (กรณีประสงค์รับเบี้ยยังชีพผ่านธนาคาร) จำนวน 1 ชุด

กรณีที่มอบอำนาจขึ้นทะเบียนแทนใช้หลักฐาน ดังนี้

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ชุด
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด
  3. หนังสือมอบอำนาจ จำนวน 1 ชุด
  4. สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร (กรณีประสงค์รับเบี้ยยังชีพผ่านธนาคาร) จำนวน 1 ชุด

หลักฐานประกอบการขึ้นทะเบียน มีดังนี้

  1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่าย ตัวจริงพร้อมสำเนา
  2. ทะเบียนบ้าน ตัวจริงพร้อมสำเนา
  3. สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารพร้อมสำเนา สำหรับในกรณีที่ผู้ขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ประสงค์ขอรับ เงินผ่านธนาคาร (สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร ธ.ก.ส. จำนวน 1 ชุด)

แจ้งความจำนงการรับเงิน

  1. โอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามผู้มีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
  2. โอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร ในนามบุคคลที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นลายลักษณ์อักษร

  1. กรณีรับเงินสด อบต.สำโรงจะทำการเบิกเงินและนำไปจ่ายให้ผู้มีสิทธิ์ภายในวันที่ 10 ของทุกเดือน โดยจะมีหนังสือแจ้งแผนการจ่ายเงิน (วัน เวลา สถานที่ คณะกรรมการผู้จ่ายเงิน) ให้ผู้ใหญ่บ้านประกาศประชาสัมพันธ์ให้ทราบล่วงหน้าก่อนอย่างน้อย 1 – 2 วัน
  2. กรณีโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร กรมบัญชีกลางจะทำการโอนเงินให้ผู้มีสิทธิ์ที่แจ้งความประสงค์โอนเข้าเข้าบัญชี ในวันที่ 10 ของทุกเดือน หากวันที่ 10 ตรงกับวันหยุดราชการ จะทำการโอนเงินเข้าก่อนวันที่ 10

ความคิดเห็นล่าสุด!

สำรวจความพึงพอใจ

ความพึงพอใจของท่าน ต่อการให้บริการของ เทศบาลตำบลคำน้ำแซบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ในระดับใด ?
  • โหวต: (0%)
  • โหวต: (0%)
  • โหวต: (0%)
  • โหวต: (0%)
  • โหวต: (0%)
Total Votes:
First Vote:
Last Vote:
  1. สถานที่/แหล่งท่องเที่ยว
  2. ผลิตภัณฑ์เด่น
  3. ศิลปวัฒนธรรม

บ้านช่างหม้อ

บ้านช่างหม้อ ไปเรียนรู้วิธีปั้นหม้อแบบโบราณ โดยการปั้นมือ นวดดินด้วนมือ ขึ้นรูปด้วยมือ ไม่ใช้เครื่องจักรกันค่ะ บ้านช่างปั้นหม้อ ตั้งอยู่ที่ บ้านท่าข้องเหล็ก อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำมูล ดินบริเวณนั้นมีความอุดมสมบูรณ์ แหมาะการปั้นหม้อ ระยะแรกที่ทำกันที่บ้านช่างหม้อ (เดิมเป็นบ้านท่าข้องเหล็ก แยกเป็นบ้านช่างหม้อ) โดยมีช่างโคราชนำเทคโนโลยีการปั้นหม้อมาเผยแพร่ เมื่อก่อนทำกันทุกครัวเรือนภายหลังดินขาดแคลน จึงเปลี่ยนเป็นปั้นเตาอังโล่ กระถางแจกัน แต่ชาวบ้านก็ยังนิยมปั้นหม้อแบบโบราณซึ่งสืบมาแต่บิดามารดา เพราะไม่ชำนาญรูปแบบใหม่และตลาดยังนิยมซื้อไว้ใส่น้ำดื่ม เนื่องจากราคาย่อมเยา การปั้นหม้อจะเริ่มจากนำดินจากแมน้ำมาหมักประมาณ 1 วัน ดินที่ใช้ปั้นหม้อต้องเป็นดินดำ เพราะเป็นดินคุณภาพดี เมื่อเผาแล้วจะไม่ค่อยแตกง่าย จากนั้นนวดดินกับแกลบในอัตราส่วน 1:1 ในระหว่างการนวดต้องผสมน้ำเล็กน้อยเพื่อให้เข้ากันได้ดี จากนั้นจึงนำที่ได้ที่แล้วมาขึ้นรูป...

[ 20-06-2566 ] Hits:779

เตาอั้งโล่ แห่งบ้านช่างหม้อ

กระบวนการปั้นเตา                      1. การหาแหล่งดิน (Clay source) มีความสำคัญต่อการผลิตเตาหุงต้มประสิทธิภาพสูงมาก หากคัดเอาดินทั่วๆ ไป ที่มีคุณภาพไม่เหมาะสมมาผลิตเตา จะทำให้เกิดปัญหาเช่น ปั้นขึ้นรูปได้ยาก เกิดการแตกร้าว ไม่คงทนเมื่อเผาเสร็จแล้ว จากการทดลอง และประสบการณ์ ของช่างทำเตาตั้งแต่อดีต พบว่า ดินเหนียว ที่เกิดจาก ตะกอนในที่ราบต่ำ หรือ ตามลำน้ำ เป็นวัตถุดิบที่ดีมากเหมาะสำหรับปั้นเตา ลักษณะของดินที่นำมาปั้นเตา โดยทั่วไปนิยมใช้ดินเหนียวสีเทาเข้ม ในการปั้นเตา เนื่องจากดินลักษณะนี้สามารถหลอมละลายได้ที่อุณหภูมิไม่สูงนัก นอกจากนั้น ในดินเหนียว ยังประกอบด้วยสารอินทรีย์ ต่างๆ ทำให้เกิดรูพรุนในเนื้อเตา เพิ่มความเป็นฉนวน...

[ 05-08-2565 ] Hits:1061

Error: No articles to display