บ้านช่างหม้อ
บ้านช่างหม้อ ไปเรียนรู้วิธีปั้นหม้อแบบโบราณ โดยการปั้นมือ นวดดินด้วนมือ ขึ้นรูปด้วยมือ ไม่ใช้เครื่องจักรกันค่ะ บ้านช่างปั้นหม้อ ตั้งอยู่ที่ บ้านท่าข้องเหล็ก อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำมูล ดินบริเวณนั้นมีความอุดมสมบูรณ์ แหมาะการปั้นหม้อ ระยะแรกที่ทำกันที่บ้านช่างหม้อ (เดิมเป็นบ้านท่าข้องเหล็ก แยกเป็นบ้านช่างหม้อ) โดยมีช่างโคราชนำเทคโนโลยีการปั้นหม้อมาเผยแพร่ เมื่อก่อนทำกันทุกครัวเรือนภายหลังดินขาดแคลน จึงเปลี่ยนเป็นปั้นเตาอังโล่ กระถางแจกัน แต่ชาวบ้านก็ยังนิยมปั้นหม้อแบบโบราณซึ่งสืบมาแต่บิดามารดา เพราะไม่ชำนาญรูปแบบใหม่และตลาดยังนิยมซื้อไว้ใส่น้ำดื่ม เนื่องจากราคาย่อมเยา
การปั้นหม้อจะเริ่มจากนำดินจากแมน้ำมาหมักประมาณ 1 วัน ดินที่ใช้ปั้นหม้อต้องเป็นดินดำ เพราะเป็นดินคุณภาพดี เมื่อเผาแล้วจะไม่ค่อยแตกง่าย จากนั้นนวดดินกับแกลบในอัตราส่วน 1:1 ในระหว่างการนวดต้องผสมน้ำเล็กน้อยเพื่อให้เข้ากันได้ดี จากนั้นจึงนำที่ได้ที่แล้วมาขึ้นรูป โดยเริ่มจากทำเบ้าก่อน คือนวดดินให้เป็นรูปทรงกระบอก แล้วค่อย ๆ กลึงด้วยไม้กลมให้กว้างออกจนมือสอดเข้าไปได้ จากนั้นจึงนำไปวางบนแท่นไม้สูงประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วจึงเริ่มทำปากหม้อ เมื่อขึ้นปากแล้วจึงใช้ถ่านทาและใช้ไม้ตีที่ด้านนอก เนื้อหม้อจะเริ่มบางลง ตีรูปให้ได้ตามต้องการ ทำลวดลายที่ปาก แล้วจึงนำไปตากแดดประมาณ 1 ชั่วโมง หลังจากตากแดดแล้ว ให้นำกลับมาตีใหม่ เพื่อให้ได้ก้นทรงกลมและให้เนื้อภาชนะบางขึ้น เมื่อได้ทรงเรียบร้อยก็จะนำไปตากแดดอีกรอบประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นจึงนำ
แสดงความคิดเห็น
***กรุณาแสดงความคิดเห็น ด้วยความสุภาพ เคารพต่อสิทธิของผู้อื่น ไม่ละเมิดต่อกฎหมาย และศีลธรรมอันดีของสังคม